ซ่อมถนนทรุด

การแก้ปัญหาถนนทรุดตัว ถนนแตกร้าว เสริมผิวแอสฟัลต์ (Asphalt Overlay)

สารบัญ

ลักษณะพื้นถนนที่พบปัญหาการทรุดตัว

ในบางจุดพบปัญหาพื้นที่มีการทรุดตัวแบบเป็นขั้นบันไดระหว่างพื้นแผ่นคอนกรีตและเกิดรอยแตกร้าวบริเวณด้านข้างพื้นแผ่น ทำให้มีน้ำสามารถซึมผ่านเข้าไปด้านใต้พื้นแผ่นคอนกรีต ทำให้เกิดโพรงด้านใต้ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต

ถนนแตกร้าว

STATE 1 : เริ่มต้น PUMPING ACTION คอนกรีตมีการขยับตัว

ถนนแตกร้าว

STATE 2 : น้ำสามารถผ่านลงไปใต้คอนกรีต ตามรอยต่อที่เสื่อมสภาพ

ถนนแตกร้าว

STATE 3 : เกิดช่องว่างขนาดใหญ่ หรือ โพรงใต้คอนกรีต

ถนนแตกร้าว

STATE 4 : เกิดรอยแตกร้าวของคอนกรีตในบริเวณข้างเคียง

ภาพแสดงความเสียหายที่เป็นผลลัพธ์ต่อเนื่องจากกรณีที่พื้นถนนทรุดตัว และสาเหตุของรอยแตกร้าวบนพื้นถนน

งานยกปรับระดับพื้นถนนทรุดตัวด้วย PU Foam

พื้นถนนที่มีลักษณะเป็นพื้นต่างระดับ แอ่งกระทะ ทำให้เกิดน้ำขัง ส่งผลกระทบต่อการจราจร ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน การซ่อมแซมพื้นถนนที่มีปัญหาต้องทำงานในเวลาที่จำกัด รบกวนการสัญจรไปมาบนท้องถนนให้น้อยที่สุด วิธีการฉีดสาร PU Foam เป็นวิธีการซ่อมแซมที่รวดเร็วไม่มีฝุ่นและไม่สกปรกเลอะเทอะ แม่นยำด้วยการอ่านค่าจากเครื่องวัดระดับแบบเลเซอร์ตลอดระยะเวลาการทำงาน หากจำเป็นสามารถซ่อมแซมพื้นถนนได้ในเวลากลางคืน ปิดช่องทางการจราจร 1 ช่องทาง ไม่กระทบการสัญจรไปมา บนท้องถนน

จุดที่ 1 งานแก้ไขถนนทรุดตัวในนิคมอุตสหกรรม ด้วยวิธีการฉีดสาร PU Foam ยกปรับระดับพื้นถนนให้ได้ระดับเดิม บริเวณจุดสามแยก โดยจุดนี้ไม่สามารถปิดถนนเป็นเวลานานได้เนื่องการสัญจรบนท้องถนนที่ต้องวิ่งผ่านตลอดเวลา โดยทางบริษัทเทสล่าเอ็นจิเนียริ่ง ได้มีโอกาสเข้าไปแก้ไขปัญหาเมื่อปี 2561 และทำการเก็บสำรวจการทรุดตัวอีกครั้งเมื่อ มกราคม ปี 2564 โดยพื้นคอนกรีตยังคงไม่มีการทรุดตัวให้เห็น

ซ่อมถนนทรุด

จุดที่ 2 งานแก้ไขถนนทรุดตัวในนิคมอุตสหกรรม ด้วยวิธีการฉีดสาร PU Foam ยกปรับระดับพื้นถนนให้ได้ระดับเดิม โดยจุดนี้ไม่สามารถปิดถนนเป็นเวลานานได้เนื่องการสัญจรบนท้องถนนที่ต้องวิ่งผ่านตลอดเวลา โดยทางบริษัทเทสล่าเอ็นจิเนียริ่ง ได้มีโอกาสเข้าไปแก้ไขปัญหาเมื่อปี 2561 และทำการเก็บสำรวจการทรุดตัว อีกครั้งเมื่อ มกราคม ปี 2564 โดยพื้นคอนกรีตยังคงไม่มีการทรุดตัวให้เห็น

จุดเด่นและประโยชน์ของวิธีการฉีดอุดโพรง และยกปรับระดับพื้นถนนด้วย PU Foam

  • กระบวการแก้ไขมีการรบกวนพื้นที่ทำงานน้อยมาก สามารถปิดกั้นถนนทำเป็นส่วนๆ โดยถนนในส่วนอื่นๆ ยังสามารถให้รถผ่าน เข้า – ออก ใช้งานพื้นที่ได้ตามปกติ ภายใต้การควบคุมจราจรของเจ้าหน้าที่
  • สามารถเปิดให้ใช้งานหน้างานที่ทำเสร็จได้เลยในทันทีเนื่องจากสารเคมีที่ฉีดเข้าไปมีคุณสมบัติที่แข็งตัวเร็ว และสามารถรับน้ำหนักรถบรรทุกสัญจรได้ทันที ภายในครึ่งชั่วโมงหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการฉีดยกปรับระดับแล้ว
  • วัสดุที่ใช้ฉีดเข้าไป ปรับปรุง อุดโพรง และ ยก ปรับระดับพื้นนั้น เมื่อแข็งตัวเต็มที่แล้ว จะเป็นสารที่น้ำและน้ำมัน ไม่สามารถไหลซึมทะลุผ่าน, ละลาย หรือถูกชะออกไปได้ สามารถลดปัญหาเรื่องการไหลออกของชั้นดินด้านใต้ (Wash Away Problem) รวมทั้งสารเคมีที่ฉีดลงไป เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environment Friendly)

ถนนที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดอุบัติเหตุ และ เพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน

งานฉีดซัพพอร์ต ด้วย PU Foam เติมเต็มโพรงด้านใต้คอนกรีต บริเวณถนนที่มีรอยแตกร้าวเนื่องจากถนนทรุดตัว

แก้ไขปัญหาถนนทรุด ยืดอายุการใช้งานถนนให้นานขึ้น ด้วยวิธีการฉีดสารโพลียูรีเทน (PU Foam)

ทำการอุดโพรงใต้แผ่นพื้นคอนกรีต รอบๆ รอยแตกร้าวและตามรอยต่อที่มีการขยับตัวของพื้นแผ่น พร้อมทั้ง ยก ปรับระดับพื้นที่ ที่ทรุดตัวขึ้นให้มีระดับเรียบเสมอกันมากที่สุดตามที่กำหนด

ซ่อมถนนแตกร้าว
ซ่อมถนนแตกร้าว
ซ่อมถนนแตกร้าว

ภาพตัวอย่าง งานฉีดซัพพอร์ต บริเวณถนนที่มีรอยแตกร้าวเนื่องจากถนนทรุดตัว สาเหตุเกิดจากมีโพรงด้านใต้คอนกรีต โดยสารโพลียูรีเทน(PU Foam) จะเข้าไปเติมเต็มโพรงด้านใต้คอนกรีต และบดอัดดินด้านใต้จนแน่น จากนั้นจะทำการยกพื้นคอนกรีตที่ทรุดตัวขึ้นมาให้ได้ระดับตามความต้องการ

งานซ่อมแซมรอยแตกร้าว ด้วย Epoxy Mortar หลังจากทำการฉีดซัพพอร์ต เติมเต็มโพรงด้านใต้คอนกรีต ด้วย PU Foam

ซ่อมรอยแตกร้าว

การฉีดอุดโพรงด้านใต้คอนกรีตด้วย PU Foam วิธีการนี้ จะสามารถรองรับการสั่นสะเทือนได้ดี ทำให้เหมาะกับพื้นคอนกรีตที่มีการสั่นสะเทือนจากการสัญจรไปมา

การซ่อมรอยแตกร้าว หากพื้นคอนกรีตด้านบนได้รับการแก้ไข รอยแตกรอยร้าว และหยอดยางจ๊อยส์ กันน้ำไม่ให้ไหลลงไปได้อีก ก็จะช่วยหยุดการทรุดตัวของถนนได้ดีขึ้น

ซ่อมรอยแตกร้าว
ซ่อมรอยแตกร้าว
ซ่อมรอยแตกร้าว

งานเสริมผิวแอสฟัลต์ (Asphalt Overlay) หลังจากทำการฉีด PU Foam เติมเต็มโพรงด้านใต้คอนกรีต

overlay

ลักษณะพื้นถนนที่ทำการลาดยางมะตอยโดยไม่แก้ปัญหาโพรงด้านใต้ จะเห็นได้ว่าสภาพยางมะตอยมีการแตกร่อน อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อการสัญจรไปมาบนท้องถนน

overlay

ทำการเจาะรูขนาด 16 มม เพื่อใช้ในการเติมเต็ม PU Foam

overlay

ทำการฉีด PU Foam เติมเต็มโพรงด้านใต้คอนกรีต

overlay

ทำการเสริมผิวแอสฟัลต์ (Asphalt Overlay) หลังจากทำการฉีด PU Foam เติมเต็มโพรงด้านใต้คอนกรีต แก้ไขปัญหาเมื่อ ปี 61

Asphalt Overlay

ภาพการสำรวจถนนงานเสริมผิวแอสฟัลต์ (Asphalt Overlay) หลังจากทำการฉีด PU Foam เติมเต็มโพรงด้านใต้คอนกรีต ปี 2564

จะเห็นได้ว่าพื้นถนนที่ทำการเติมเต็มโพรงด้านใต้คอนกรีตด้วย PU Foam จะสามารถยืดอายุการใช้งานถนนให้นานขึ้น และยังคงสภาพยางมะตอยด้านบนไม่ให้แตกร่อนได้ดี


ปรึกษาปัญหา พื้นทรุด กับทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ