ยกปรับระดับพื้นทรุดตัว

งานซ่อมพื้นทรุด ยก-ปรับระดับพื้น

แทงค์สารเคมีเอียง
ซ่อมพื้นทรุด พื้นทรุด พื้นโรงงานทรุด
ฉีด PU ซ่อมพื้นเป็นแอ่ง แก้น้ำขัง

ปัญหาพื้นทรุดตัว ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร

 ปัญหาการทรุดตัวของพื้นคอนกรีต เกิดจากหลายปัจจัยที่ทำให้ดินด้านล่างเกิดการทรุดตัวขึ้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้พื้นคอนกรีตเกิดการทรุดตัว ได้แก่ ขั้นตอนการบดอัดดินก่อนก่อสร้างโรงงานไม่ดีเท่าที่ควร รางระบายน้ำอาจเกิดการรั่วซึม จึงทำให้น้ำไหลเข้าสู่ใต้พื้นคอนกรีต ทำให้ชั้นดินอ่อนตัว พื้นโรงงานรองรับน้ำหนักของเครื่องจักร หรือสินค้ามากเกินไป พื้นถนนคอนกรีต แบกรับน้ำหนักของรถบรรทุก ที่วิ่งผ่านเข้าออกในพื้นที่ ซึ่งปัจจัยเหล่านนี้ อาจมีส่วนที่ทำให้เกิดการทรุดตัวของชั้นดิน

เมื่อพื้นคอนกรีตเริ่มเกิดการทรุดตัว ปัญหาที่ตามมา และก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบการทำงานในธุรกิจของคุณ เช่น รถสัญจรไปมาบนพื้นถนนคอนกรีตไม่สะดวก เนื่องจากการทรุดตัวของพื้นถนนทำให้เกิดน้ำขังในพื้นที่   ฐานเครื่องจักรหรือแทงค์ในโรงงานอุตสหกรรมเกิดการทรุดเอียง และ ส่งผลให้พื้นคอนกรีตเริ่มแตกร้าว อาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและทรัพย์สินของโรงงาน ซึ่งจะทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมา หากไม่รีบหาวิธีทางป้องกันให้ถูกวิธี

วิธีแก้ไขปัญหาพื้นคอนกรีตทรุดตัวด้วยสารโพลียูรีเทนหรือPUโฟม (Polyurethane)

เทสล่า เอ็นจิเนียริ่ง ให้บริการยกปรับระดับพื้นคอนกรีตทรุด ด้วยการฉีดสารโพลียูรีเทน หรือ PUโฟม ลงไปเติมโพรงและบดอันดินจนแน่น คุณสมบัติของสารโพลียูรีเทน หรือ PUโฟม จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จนสามารถยกพื้นทรุดให้กลับมาเรียบเสมอ ควบคุมการยกด้วยเครื่องมือวัดระดับแบบเลเซอร์มีความแม่นยำสูง โดยมีวิศวกรชำนาญการควบคุมงานทุกขั้นตอน

การยกปรับระดับพื้นทรุดด้วยสารโพลียูรีเทน

สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติของสารโพลียูรีเทนจะแทรกตัวไปตามช่องว่างของชั้นดิน และรวมตัวกับดิน หิน ทราย เมื่อสารขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จะสามารถยกพื้นที่ทรุดขึ้นมาได้

 

โพลียูรีเทน (Polyurethane) หรือเรียกอีกอย่างว่า PU โฟม

เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี ระหว่าง RESIN และ ISO ผสมรวมกันจนเกิดเป็น PU โฟม

ข้อดีของสารโพลียูเทนหรือ PU โฟม

  • ขยายตัวได้ 10 – 20 เท่า สามารถยกพื้นคอนกรีตทีทรุดตัวขึ้นมาได้

  • แข็งตัวเร็วภายใน 7-10 วินาที

  • ใช้รองรับน้ำหนักแทนดิน หินคลุก สามารถบดอัดได้

  • ไม่ลามไฟ เนื่องจากมีส่วนผสมสารกันไฟ

  • มีน้ำหนักเบาแข็งแรงทนทาน

  • สามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาพื้นทรุด

การวัดค่าระดับ

การวัดค่าระดับเป็นกระบวนการในการหาความสูง หรือความแตกต่างของความสูงจากจุดที่ต้องการการวัดค่าระดับจึงมีความสำคัญสำหรับการได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการทำแผนที่ภูมิประเทศ รวมถึงการออกแบบทางวิศวกรรมและการก่อสร้าง เทสล่า เอ็นจิเนียริ่ง จึงต้องทำการเก็บค่าระดับเป็นอย่างแรกก่อนที่จะเริ่มดำเนินการสำรวจชั้นดินฐานรากในขั้นตอนอื่นๆ เพื่อการตรวจเช็คทิศทางการเอียงเทของพื้นที่สำรวจ และเพื่อการลำดับแผนการสำรวจในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนการสำรวจสภาพชั้นดินด้วยการทดสอบ PENETROMETER TESTING ด้วยเครื่อง Cone Penetrometer Test

ทดสอบดินเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นทรุด

   Cone Penetrometer Test (Kunzelstab) เป็นเครื่องมือทดสอบความหนาแน่นชนิดพิเศษที่สามารถใช้หาความหนาแน่นของชั้นดินในแต่ละชั้นด้านใต้ฐานโครงสร้างพื้นได้ลึกสูงสุดถึงที่ระดับ 10 เมตรใต้โครงสร้างและหลังจากนั้นค่าที่ได้รับจะสามารถนำมาใช้ประเมินพื้นที่หน้างานที่จะทำการปรับปรุง
เครื่องมือชนิดนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการสำรวจความหนาแน่นของดินโดยหลักการคือ จะใช้ตุ้มน้ำหนัก มาตรฐานขนาด 30 กิโลกรัมตอกลงไปในชั้นดินทุกๆ ความลึกที่ตอกลงได้ 20 เซนติเมตรเพื่อดูความหนาแน่น (แรงต้านทาน) ของดินด้านล่างโครงสร้างซึ่งค่าที่ได้นี้จะถูกแปลงไปเป็น ค่าความหนาแน่นในการรองรับน้ำหนักของดินด้านใต้ (Bearing Capacity) และความหนาแน่นของดินด้านใต้ว่าเป็นลักษณะดินที่หลวม หรือ แน่น เหมาะสมในการรองรับน้ำหนักหรือไม่

ขั้นตอนการยกปรับระดับพื้นทรุด

ซ่อมพื้นทรุด

ทำการเจาะรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร ทุกๆ 1.5 เมตร เพื่อใช้ในการฉีดสาร PU โฟม ปรับระดับยกพื้นที่ทรุดตัว

ซ่อมพื้นทรุด

ฉีดสารขยายตัวสูง PU โฟมเข้าไปปิดโพรงใต้พื้นผิวทางคอนกรีต ตรวจสอบการขยับตัวโครงสร้าง ทุกๆ 0.5 mm. เมื่อพื้นที่ทรุดตัวถูกปรับยกขึ้นมา

ซ่อมพื้นทรุด

การขยายตัวของสารโพลียูรีเทน ทำให้สามารถยกน้ำหนักได้มากกว่า 50 ตันต่อตารางเมตร พื้นที่ทรุดตัวได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้เรียบเสมอกัน เพื่อรองรับการทำงานในระบบงาน

สามารถเปิดพื้นที่ใช้งานได้ภายใน 15 นาที พื้นที่ที่ได้รับการแก้ปัญหาพื้นทรุดสามารถเปิดใช้งานได้ทันที

ซ่อมพื้นโรงงานทรุด
ยกพื้นโกดังโรงงานทรุด

ข้อดีวิธีการยกปรับระดับพื้นคอนกรีตของเทสล่า

  • ตัดค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ขนย้าย และติดตั้งเครื่องจักรใหม่

  • ไม่ต้องปิดหน้างาน หรือยกเลิกขบวนการผลิต

  • ใช้เวลาดําเนินการเพียงไม่กี่ชั่วโมง ในการซ่อมแซมแต่ละพื้นที่

  • ไม่ต้องลงเข็ม หรือทุบพื้นทิ้งในการสร้างใหม่

  • ปรับปรุงสร้างความแข็งแรงให้กับชั้นดินด้านใต้ไม่ให้เกิดปัญหาการทรุดตัว

  • ความสามารถในการยก ปรับระดับ พื้นรองรับเครื่องจักรกลหนัก ได้มากกว่า 50 ตันต่อตารางเมตร

  • ขจัดปัญหานํ้าขังในพื้นที่ หลังการซ่อมแซม

พื้นที่งานที่เทสล่าสามารถยกขึ้นได้

  • พื้นโรงงานทรุด

  • พื้นโกดังสินค้าทรุด

  • พื้นถนนคอนกรีตทรุด

  • พื้นลานจอดรถทรุด


ปรึกษาปัญหา พื้นทรุด กับทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ


    Share This Story, Choose Your Platform!